Saturday, November 20, 2010

มาตรฐานวิชาชีพครู

มาตรฐานวิชาชีพครู 9 มาตรฐาน

ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูนเนอร์

ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูนเนอร์
                บรูนเนอร์ กล่าวว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ หรือ การรู้คิดโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acting, Imagine และ Symbolizing ซึ่งอยู่ในขั้นพัฒนาการทางปัญญาคือ Enactive, Iconic  และ Symbolic representation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตมิใช่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น บรูเนอร์เห็นด้วยกับ  พีอาเจต์ ที่ว่า มนุษย์เรามีโครงสร้างทางสติปัญญา (Cognitive structure) มาตั้งแต่เกิดในวัยเด็กจะมีโครงสร้างทางสติปัญญาที่ไม่ซับซ้อน เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างทางสติปัญญาขยาย และซับซ้อนเพิ่มขึ้น หน้าที่ของครูคือ การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเอื้อต่อการขยายโครงสร้างทางสติปัญญาของผู้เรียน 
(http://tupadu.multiply.com/journal/item/2)
                บรูนเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะประมวลข้อมูลข่าวสาร จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจะรับรู้สิ่งที่ตนเองเลือก หรือสิ่งที่ใส่ใจ การเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้เกิดการค้นพบ เนื่องจากผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้สำรวจสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบ (http://www.cis.psu.ac.th/depis/elearning/psychology/222brunner.htm)l
                บรูนเนอร์ กล่าวว่า ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์ ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง เลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง และเนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม  (http://th.wikipedia.org/)
                บรูเนอร์ได้เสนอว่า ในการจัดการศึกษาควรคำนึงถึง การเชื่อมโยง ทฤษฎีพัฒนาการ กับทฤษฎีความรู้กับทฤษฎีการสอน เพราะการจัดเนื้อหาและวิธีการสอนจะต้องคำนึงถึงพัฒนาการ และปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความสามารถในการคิด หรือการรับรู้ การใช้ภาษาที่เหมาะสม รวมถึงการเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน บรูเนอร์เชื่อว่าครูสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมได้โดย ไม่ต้องรอเวลาดังที่บรูเนอร์กล่าวไว้ว่า "วิชาใดๆก็ตาม สามารถที่จะสอนให้เด็กในทุกช่วงพัฒนาการ ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม"
               
 ซึ่งแนวคิดดังกล่าว บรูเนอร์ได้เสนอว่า การจัดการเรียนการสอนควรมีการจัดเนื้อหาวิชาที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ มีความลึกซึ้งซับซ้อนและกว้างขวางออกไปตามประสบการณ์ของผู้เรียน ในเรื่องเดียวกันอาจสามารถเรียนรู้กันได้ (http://gotoknow.org/blog/yardaroonchat/200976)
                บรูเนอร์ได้เสนอว่าในการจัดการศึกษานั้น ควรที่จะได้คำนึงถึงทฤษฏีพัฒนาการว่าเป็นตัวเชื่อมระหว่าง ทฤษฏีความรู้ และทฤษฏีการสอน ( A theory of development must be link both to a theory of instruction) ซึ่งหมายความว่า ทฤษฏีพัฒนาการจะเป็นตัวกำหนดเนื้อหา (knowledge) และวิธีการสอน (instruction)ในการที่จะนำเนื้อหาใดมาสอนเด็กนั้นควรพิจารณาดูว่าในขณะนั้นเด็กมีพัฒนาการอยู่ในระดับใด มีความสามารถเพียงใด เราก็ปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความสามรถของเด็กที่จะเรียนหรือที่จะรับรู้ได้ โดยใช้วิธีการให้เหมาะสมกับเด็กในวัยนั้น ดังนั้นเราก็สามรถสอนให้เด็กเกิดความพร้อมได้โดยไม่ต้องรอ ดังที่บรูเนอร์ได้กล่าวว่า เราจะสามารถสอนวิชาใดๆก็ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมให้กับเด็กคนใดคนหนึ่งในระดับอายุใดก็ได้(http://www.igetweb.com/www/brunner/index.php?mo=3&art=412748)
                บรูเนอร์กล่าวว่า การเรียนการสอนที่ดีว่า ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ โครงสร้างของเนื้อหาสาระความพร้อมที่จะเรียนรู้ การหยั่งรู้โดยการคะเนจากประสบการณ์อย่างมีหลักเกณฑ์และแรงจูงใจที่จะเรียนเนื้อหาใด ๆ บรูเนอร์ให้ความสำคัญกับสมดุลระหว่างผลลัพธ์กับกระบวนการเรียนการสอน บรูเนอร์ เชื่อว่า มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของ บรูเนอร์ (ทิศนา แขมมณี, 2545 : 66) มีดังนี้ 1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก 2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียนและสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ 3) การคิดแบบหยั่งรู้ เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ 4) แรงจูงใจภายใน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ 5) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 6) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนด้วยตนเอง (http://pay-ppp.blogspot.com/2009/08/blog-post_1883.htm)l
                Bruner (พรรณี ช. เจนจิต, 2528: 117 -118) มีความเห็นว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้และปรับโครงสร้างทางสติปัญญานั้น ก็โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การกระทำ (Acting) การสร้างภาพในใจ (Imagine) และการใช้สัญลักษณ์ (Symbolizing) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง
                สรุปได้ว่า บรูเนอร์มีความเห็นว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจ โดยผ่ากนระบวนการที่เรียกว่า acting, imaging, และ symbolizing ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น และการเรียนการสอนที่ดีว่า ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ โครงสร้างของเนื้อหาสาระความพร้อมที่จะเรียนรู้ การหยั่งรู้โดยการคะเนจากประสบการณ์อย่างมีหลักเกณฑ์และแรงจูงใจที่จะเรียนเนื้อหาใด ๆ บรูเนอร์ให้ความสำคัญกับสมดุลระหว่างผลลัพธ์กับกระบวนการเรียนการสอน บรูเนอร์ เชื่อว่า มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง

Friday, November 19, 2010

ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructivism)

ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructivism
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเองนี้จะไม่เน้นการให้เนื้อหาที่ผู้เรียนจะต้องเรียนแต่เน้นที่ตัวผู้เรียน และประสบการณ์ของผู้เรียน เพอร์กินได้อธิบายว่า Constructivism ก็คือการที่ผู้เรียนไม่รับเอา หรือเก็บเอาไว้ แต่เฉพาะข้อมูล ที่ได้รับแต่ต้องแปลความ ของข้อมูลเหล่านั้น โดยประสบการณ์ และเสริมขยายตลอดจนทดสอบการแปลความนั้นด้วย (http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Constructivism.htm)
                 พรสวรรค์ เดชมานนท์ (Constructivism)เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยา ปรัชญา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจิตวิทยาด้านปัญญา เป็นทฤษฎี ที่อธิบายถึง การได้มาซึ่งความรู้ และนำความรู้นั้นมาเป็นของตนได้อย่างไร ซึ่งเพอร์กิน ได้อธิบายว่า Constructivism คือ การ ที่ผู้เรียน ไม่ได้รับเอาข้อมูล และเก็บข้อมูลความรู้นั้นมาเป็นของตนทันที แต่จะแปลความหมาย ของข้อมูลความรู้เหล่านั้น โดย ประสบการณ์ของตน และเสริมขยาย และทดสอบการแปลความหมายของตนด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา ของพีอาเจย์ การเรียนรู้เกิดจาก การค้นพบและประสบการณ์ ทฤษฎีนี้เกิดจาก ความคิดที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่ แต่ละบุคคลได้สร้าง ความรู้ขึ้นและ ทำให้สำเร็จ โดยผ่านกระบวนการ ของความสมดุล ซึ่งกลไกของความสมดุล เป็นการปรับตัว ของตนเอง ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ใน สภาพสมดุล (http://537210140912.multiply.com/journal/item/9)
                ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเองนี้จะไม่เน้นการให้เนื้อหาที่ผู้เรียนจะต้องเรียนแต่เน้นที่ตัวผู้เรียนและประสบการณ์ของผู้เรียน เพอร์กินได้อธิบายว่า Constructivism ก็คือการที่ผู้เรียนไม่รับเอาหรือเก็บเอาไว้แต่เฉพาะข้อมูลที่ได้รับแต่ต้องแปลความของข้อมูลเหล่านั้นโดย ประสบการณ์และเสริมขยายตลอดจนทดสอบการแปลความนั้นด้วย(http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=edtech11&id=325)……………………..
                Constructivism เป็นปรัชญาการศึกษา โดยตั้งอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งความรู้นี้จะฝังติ[คำไม่พึงประสงค์]ยู่กับคนสร้างดังนั้นความรู้ของแต่ละคนเป็นความรู้เฉพาะตัว
(http://www.aln.org/alnweb/magazine/issue1/sener/constrct.htm)

                Constructivism เป็นแนวคิดที่ว่าผู้เรียนสร้างความรู้เพื่อ (for) ตนเอง แต่ละ(กลุ่ม)คนสร้างความหมายเมื่อการเรียนรู้เกิดขึ้นการสร้างคือการเรียนรู้นั่นเอง
(http://www.artsined.com/teachingarts/Pedag/Dewey.html)

                Constructivism เชื่อว่าความจริงอยู่ในหัวสมองของคนมากกว่าที่จะมีที่อยู่ที่อื่น คนสร้างสิ่งที่เรียกว่าความจริงหรืออย่างน้อยก็สร้างความหมายของความจริงขึ้นมาบนพื้นฐานจากประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละคน Constructivism เกี่ยวข้องกับการสร้างความรู้ของมนุษย์จากประสบการณ์ จากโครงสร้างในหัวสมอง (ภาพในใจ) และจากความเชื่อซึ่งใช้แปลความหมายเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร หัวสมองสร้างโลกส่วนตัวของแต่ละคนขึ้นมา ดังนั้นไม่มีโลกของใครที่จะเหมือนจริงที่สุด ไม่มีความจริงและไม่มีแก่นแท้ที่เป็นรูปธรรม Constructivism เชื่อว่าหัวสมอง (mind) เป็นเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญที่จะแปลความหมายของเหตุการณ์ วัตถุ และทัศนะในโลกของความเป็นจริง สิ่งที่หัวสมองรับรู้และเข้าใจประกอบกันเป็นฐานความรู้เฉพาะส่วนตัวของแต่ละคน โลกส่งผ่านทุกอย่างมากลั่นกรองยังหัวสมองก่อนที่จะออกมาเป็นสิ่งที่รับรู้และเข้าใจ กล่าวโดยสรุป สิ่งสำคัญของความเชื่อแนว Constructivism คือ แต่ละคนรับรู้และเข้าใจโลกภายนอกค่อนข้างจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เกี่ยวกับโลกภายนอกนั้นและความเชื่อเกี่ยวกับประสบการณ์เหล่านั้น
(http://www.ala.org/aasl/SLMQ/skills.html)

                แนวคิดหลักของ Constructivism คือ ความรู้ทั้งมวลถูกประดิษฐ์หรือถูกสร้างขึ้นในหัวสมอง (mind) ของคน ความรู้ไม่ได้ถูกค้นพบ หรือพู[คำไม่พึงประสงค์]ีกอย่างได้ว่าความรู้ที่ครูสอนนักเรียนนั้นไม่ใช่ความเป็นอยู่จริง (reality) ความรู้เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มนุษย์สร้างความรู้ ความคิด และภาษาขึ้นมาเพราะมันล้วนมีประโยชน์ หาใช่เพราะมันคือความจริง (truth) ไม่ ความจริงทั้งมวลนั้นมีอยู่แน่แท้ในเชิงนามธรรม มันอยู่ในหัวสมองของคนแต่ละคนที่เข้าถึงมัน ไม่มีใครอ้างได้ว่าความจริงในความรู้สึกของตนเป็นรูปธรรมกว่าใครคนอื่นเพราะความจริงของแต่ละคนนั้นเป็นเพียงสิ่งที่แต่ละคนสร้างขึ้นมาเองทั้งสิ้น
(http://www.crossrds.org/doteduc.htm)

                นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2544) แสดงความคิดเห็นไว้ว่า ความรู้ถ่ายทอดให้แก่กันไม่ได้ ความรู้ของเรานั้นเราต้องเป็นผู้เชื่อมโยงข้อเท็จจริงให้เกิดเป็นความสัมพันธ์กันเอง คนอื่นจะมา สร้างให้เราไม่ได้ ถ้าเรียนรู้ความรู้ของคนอื่นโดยไม่มีกระบวนการคิดตามจนจับเหตุจับผลได้กระจ่างชัดขึ้นในใจ ก็เท่ากับไม่ได้สร้างความรู้นั้นขึ้นใหม่ด้วยตัวเองความรู้ของคนอื่นก็เป็นเพียงข้อเท็จจริงเท่านั้น
                กาญจนา ไชยพันธุ์ (2542) เช่นเดียวกับวรรณจรีย์ มังสิงห์ (2541) จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้คำว่า ปรัชญาสร้างสรรค์ความรู้นิยมปรัชญาแนวนี้เชื่อว่าความรู้ไม่ได้มาจากการค้นพบจากภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม แต่เป็นความรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นภายในจิต จากการทำความเข้าใจหรือให้ความหมายกับเหตุการณ์ ประสบการณ์หรือข้อสนเทศ โดยอาศัยความรู้เดิมหรือความเชื่อ ทฤษฎีและความคาดหวังของตนในการแปลความมหายเพื่อทำความเข้าใจต่อสถานการณ์นั้น ๆความรู้ไม่ใช่ความจริง เพราะมนุษย์ไม่สามารถใช้ประสบการณ์อธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามสภาพที่แท้จริงได้ เนื่องจากสิ่งที่คนเราสังเกตเห็นหรือรับรู้จะถูกเลือกตามความคาดหวังของบุคคล เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์
                สุนทร สุนันท์ชัย (2540) เรียก Constructivism ว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน หรือ นิรมิต    นิยม (นิรมิต แปลว่า สร้าง) สรุปไว้ว่า นิรมิตนิยมเชื่อว่า ความรู้ ก็คือสิ่งที่ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเขา ขึ้นอยู่กับการแปลความหมายของเขา เราไม่สามารถจะถ่ายทอดความรู้จากการสอนโดยตรง แต่เด็กจะต้องค้นพบความรู้ด้วยตัวของเขา ซึ่งก็หมายความว่าเด็กต้องสร้าง (construct) ความรู้ขึ้นด้วยตัวของเขาเอง การสร้างความรู้นั้นก็มีหลักการว่า ต้องเรียนความรู้จากบริบทที่แวดล้อมอยู่ ต้องเรียนจากการทำจริงปฏิบัติจริงจากสถานการณ์ที่เป็นจริง ครูยังมีบทบาทสำคัญ ไม่ใช่ฐานะผู้สอนแต่เป็นผู้อำนวยความสะดวก เด็กต้องมีอิสระที่จะเลือก ที่จะเรียน เด็กต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อนนักเรียนด้วยกันมีส่วนร่วมที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ฯลฯ หลักการต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้เด็กสามารถนิรมิต (construct) ความรู้ใหม่ (สำหรับตัวเขา) ขึ้นได้
                บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ (2540) ได้ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดการเรียนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในปัจจุบันว่า “…ได้เน้นการสร้างความรู้แทนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือเปลี่ยนจาก Behaviorism และ Cognitivism มาเป็น Constructivism เป็นการเน้นหาวิธีเรียน (learning method) ให้แก่ผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ แทนการเน้นหาวิธีการสอน (teaching method) ให้แก่ครู
                ไผท สิทธิสุนทร (2542) เรียก Constructivism ว่า ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ นอกจากนี้ยังกล่าวถึง Constructionism โดยอ้างคำกล่าวของ ซีมัวร์ เพเพิร์ต (Seymour Papert) ดังนี้ ทฤษฎี Constructionism นั้นหมายถึง สิ่งที่พีอาเจต์เรียกว่า Constructivism หากแต่ Constructionism นั้นก้าวไปไกลกว่า ตัวอักษร v แสดงถึงทฤษฎีที่ว่าความรู้นั้นถูกสร้างขึ้นโดยตังผู้เรียน ไม่สามารถถูกเติมเต็มได้โดยผู้สอน ส่วนคำที่ใช้ตัว n เป็นการขยายแนวคิด Constructivism ออกไป โดยเสนอว่าความรู้จะยิ่งงอกเงยขึ้นหากผู้เรียนมีส่วนเข้าไปพัวพันในกระบวนการสร้างภายนอกตัวตน
                เสวณี เกรียร์ เรียบเรียงจากบทความของ Linda Biance และใช้คำว่า ปรัชญาเกี่ยวกับความรู้และการรับรู้ แก่นของปรัชญา Constructivism ของ Biance มี 2 ข้อ ดังนี้
1. การรับ ความรู้จะทำได้ไม่เต็มที่ด้วยการนั่งฟังหรือดูเฉย ๆ (Knowledge is not passively received.)
2. “ความรู้ไม่ใช่สิ่งที่ถูกค้นพบ แต่จะต้องถูกสร้างขึ้นจากประสบการณ์ของเรา (Knowledge is no found but constructed.)  และโดยสรุป ความรู้เป็นสิ่งที่ผู้เรียนแต่ละคนต้องสร้างขึ้นเพื่อตัวเขาเองและโดยตน
เอง (Knowledge is something which each individual learner must construct for and by himself.)
                บัญชา ธนบุญสมบัติ (2544) สรุปว่าหลักการพื้นฐานที่สุดของทฤษฎีการสร้างทำก็คือ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากการได้ทดลองทำจริง ไม่เพียงแค่สังเกตการณ์ บัญชายกตัวอย่างดังนี้
“…อย่างถ้าเราจะหัดขี่จักรยาน ก็ต้องลองขี่จริง จะล้มบ้างสะดุดบ้างก็ถือเป็นการเรียนรู้ ถ้าอยากว่ายน้ำเป็นก็ต้องลงว่ายน้ำจริง โดยมีคนที่เป็นคอยกำกับอยู่เพื่อความ ปลอดภัย คงไม่มีใครที่สามารถขี่จักรยานหรือว่ายน้ำได้เพียงแค่โดยการอ่านจากตำราอย่างเดียว
                จิราภรณ์ ศิริทวี (2544) กล่าวว่า  “[Constructivism] เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง หรือรวบรวม ปรับเปลี่ยนสภาพการณ์รอบ ๆ ตัวมาอธิบายสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่ หรืออีกคำอธิบายหนึ่งก็คือ การเรียนรู้แนวนี้ไม่ใช่การเติมสมองที่ว่างเปล่าของผู้เรียนให้เต็ม แต่เป็นการพัฒนาความคิดที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว ในลักษณะเป็นการสร้างความคิดจากพื้นความคิดเดิม มากกว่าการดูดซับความคิด  เพื่อให้ฟังดูง่าย จิราภรณ์เพิ่มเติมว่า  “[Constructivism] เป็นการสอนให้เด็กคิดเป็น หรือรู้จักคิดนั่นเอง ไม่ใช่นั่งฟังครูตาแป๋ว แต่สมองกลวง เพระครูป้อนความรู้เข้าปาก โดยเด็กไม่ต้องกระดิกกระเดี้ยทำอะไร ถ้าเป็นแบบนั้น รับรองว่าไม่ใช่ Constructivism แน่นอน
ที่ถูกแล้ว จิราภรณ์สรุปว่า Constructivism ต้องเป็นแบบนี้
“…นักเรียนเป็นเจ้าของความคิดมากกว่าผู้รับ หรือซึมซับความรู้ การสื่อสารของครูจะเป็นในลักษณะกระตุ้นให้นักเรียนคิด โดยจะไม่บอกหรือตอบคำถามนักเรียนตรง ๆ นักเรียนต้องเรียนรู้วิธีการแปลความหมายในสิ่งที่ครุพูด เพื่อนำมาใช้หาคำตอบตามที่นักเรียนต้องการ นักเรียนรู้เรียนรู้ด้วยความเข้าใจ (ไม่ใช่จากกรท่องจำคำตอบ) สิ่งที่นักเรียนเข้าใจเป็นสิ่งที่นักเรียนสร้างขึ้น ไม่ใช่ลอกเลียนแบบแนวคิดของครู สิ่งที่เรียนและวิธีเรียนมีผลกระทบจากบริบทของสังคม และบริบทของห้องเรียน บทบาทของครูคือผู้ชี้แนะ หรือผู้จัดการ ไม่ใช่ผู้นำ
            สรุปได้ว่า ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม(Constructionism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  โดยความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง อยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง และกระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น ดังนั้นในกระบวนการสอนของครูจึงควรให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้จากสิ่งที่เขามีอยู่และพัฒนาต่อยอดไปด้วยตัวของเขาเอง การสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางควรจะต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระและเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นหลัก

การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนแบบ กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์

กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์